เมนู

วันที่ 4 เมื่อดวงอาทิตย์อัสดงคตแล้ว อนุปสัมบันนอน ภิกษุก็นอน ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ ดังนี้ . และเป็นปาจิตตีย์ โดยเพียงแต่นอนบนที่นอนนั้นเท่านั้น .
ก็ถ้าว่า มีสามเณรมากรูป ภิกษุรูปเดียว เป็นปาจิตตีย์หลายตัวตาม
จำนวนสามเณร ถ้าหากว่าสามเณรเหล่านั้นผุดลงผุดนอน ภิกษุต้องอาบัติทุก ๆ
ประโยคของสามเณรเหล่านั้น. ก็ด้วยการผุดลงผุดนอนของภิกษุ เป็นอาบัติ
แก่ภิกษุ เพราะประโยคของภิกษุนั่นเอง.
ถ้าภิกษุมากรูป สามเณรรูปเดียว . แม้สามเณรรูปเดียว ก็ทำให้เป็น
อาบัติแก่ภิกษุทั้งหมด. แม้ด้วยการผุดลงผุดนอนของสามเณรนั้น ก็เป็นอาบัติ
แก่ภิกษุทั้งหลายเหมือนกัน. ถึงในความที่ภิกษุและสามเณรมากรูปด้วยกัน ทั้ง
สองฝ่าย ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน.

[อธิบายจตุกกะ 4 มีอาวาสจตุกกะเป็นต้น]


อีกนัยหนึ่ง ในสิกขาบทนี้ พึงทราบหมวด 4 แม้มียำวาสแห่งเดียว
เป็นต้น. ความพิสดารว่า ภิกษุใด สำเร็จการนอนร่วมกันกับอนุปสัมบันเพียง
คนเดียวในอาวาสแห่งเดียวกันสิ้น 3 ราตรี เป็นอาบัติทุกวัน จำเดิมแต่วันที่ 4
แก่ภิกษุแม้นั้น ฝ่ายภิกษุใดสำเร็จการนอนร่วมสิ้น 3 ราตรี กับอนุปสัมบัน
ต่างกันหลายคน ในอาวาสแห่งเดียวนั่นเอง เป็นอาบัติทุกวันแก่ภิกษุแม้นั้น
(จำเดิมแต่วันที่ 4) แม้ภิกษุใดสำเร็จการนอนร่วม สิ้น 3 ราตรีกับอนุปสัมบัน
เพียงคนเดียวเท่านั้น ในอาวาสต่าง ๆ กัน เป็นอาบัติทุก ๆ วัน แม้แก่ภิกษุ
นั้น (จำเดิมแต่วันที่ 4). แม้ภิกษุใดเดินทางสิ้นระยะตั้ง 100 โยชน์ สำเร็จ
การนอนร่วม (สิ้น 3 ราตรี) กับอนุปสัมบันต่างกันหลายคน ในอาวาสต่าง ๆ
กันเป็นอาบัติแม้แก่ภิกษุนั้นทุก ๆ วัน นับแค่วันที่ 4 ไป.

ก็ชื่อว่า สหเสยยาบัตินี้ ย่อมเป็นแม้กับสัตว์เดียรัจฉาน เพราะพระ
บาลีว่า ที่เหลือ เว้นภิกษุ ชื่อว่า อนุปสัมบัน. ในสหเสยยาบัตินั้น การ-
กำหนดสัตว์เดียรัจฉาน พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วในเมถุนธรรมาบัตินั่น แล.
เพราะเหตุนั้น ถ้าแม้นว่า บรรดาสัตว์เดียรัจฉานชนิด 4 เท้า มีเหี้ย แมว
และตะกวดเป็นต้น เดียรัจฉานบางชนิดเข้าไปนอนอยู่ในที่มีอุปจารอันเดียวกัน
ในเสนาสนะเป็นที่อยู่ของภิกษุ จัดเป็นการนอนร่วมเหมือนกัน . ถ้าว่ามันเข้า
ไปทางโพรงของหัวไม้ขื่อ (คาน) มีโพรง ที่ตั้งอยู่ข้างบนฝาแห่งปราสาทที่เขา
สร้างไว้เบื้องบนเสาทั้งหลาย ซึ่งมีฝาไม่เชื่อมต่อกันกับพื้นชั้นบน แล้วนอน
อยู่ภายในไม้ขื่อ ออกไปทางโพรงนั้นนั่นเอง. ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้นอนร่วม
ภายใต้ปราสาท
ถ้ามีช่องบนหลังคา มันเข้าไปตามช่องนั้น อยู่ภายในหลังคาแล้วออก
ไปทางช่องเดิมนั้นแล, เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้นอนร่วมภายในหลังคาที่พื้นชั้นบน
ซึ่งมีอุปจารต่างกัน, ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้นอนที่พื้นชั้นล่าง. ถ้าพวกภิกษุขึ้น
ทางด้านในปราสาททั้งนั้น ใช้สอยฟันทั้งหมด พื้นทั้งหมดมีอุปจารเดียวกัน
เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้นอนบนพื้นใดพื้นหนึ่ง บรรดาพื้นทั้งหมดนั้น.
ภิกษุผู้นอนในเสนาสนะที่มีฝาเป็นเพิง ซึ่งสร้างโดยอาการคล้ายกับสภา
นกพิราบเป็นต้น เข้าไปนอนอยู่ในที่ทั้งหลาย มีเต้าที่ทำเป็นรูปสัตว์ร้ายเป็นต้น
เป็นอาบัติเหมือนกัน. นกพิราบเป็นต้น นอนในภายในชายคาที่ยื่นออกไป
ภายนอกเครื่องล้อม (ฝาผนังกั้น) ไม่เป็นอาบัติ . ถ้าแม้นเสนาสนะ กลมหรือ
สี่เหลี่ยมจตุรัส มีห้องตั้ง 100 ห้อง ด้วยแถวห้องที่มีหลังคาเดียวกัน. ถ้าพวก
ภิกษุเข้าไปในเสนาสนะนั้นทางประตูสาธารณะประตูหนึ่งแล้ว เลยเข้าไปใน
ห้องทั้งหมด ซึ่งมีอุปจารห้องที่มิได้กั้นด้วยกำแพงต่างหาก เมื่ออนุปสัมบัน
นอนแล้ว แม้ในห้องหนึ่ง ก็เป็นอาบัติแก่ภิกษุ ทั้งหลายผู้นอนในทุก ๆ ห้อง.

ถ้าห้องทั้งหลายมีหน้ามุข. และหน้ามุขไม่ได้มุงข้างบน, ถ้าแม้นเป็น
ที่มีพื้นที่สูง อนุปสัมบันนอนที่หน้ามุข ไม่ทำให้เป็นอาบัติแก่ภิกษุทั้งหลายผู้
นอนในห้อง. แต่ถ้าว่า หน้ามุขมีหลังคาต่อเนื่องกันกับหลังคาแห่งห้องทีเดียว.
อนุปสัมบันนอนที่หน้ามุขนั้น ทำให้เป็นอาบัติแก่ภิกษุทุกรูป. เพราะเหตุไร ?
เพราะเป็นห้องมุงทั้งหมด และบังทั้งหมด. จริงอยู่ เครื่องกั้นห้องนั่นแหละ
เป็นเครื่องกั้นหน้ามุขนั้นด้วยแล. สมจริงโดยนัยนี้แหละ ในอรรถกถาทั้งหลาย .
ท่านอาจารย์จึงปรับอาบัติไว้ ในซุ้มประตูทั้ง 4 แห่งเครื่องกั้น (ฝาผนัง)
โลหปราสาท. แต่คำใดที่ท่านกล่าวไว้ ในอรรถกถาอันธกะว่า คำว่า ในหน้ามุข
ที่ไม่ได้กั้น เป็นอนาบัติ ท่านกล่าวหมายเอาหน้ามุขบนพื้น นอกจากพื้นดิน
ดังนี้. คำนั้น ท่านกล่าวหมายเอาห้องแถวที่มีหลังคาอันเดียวกัน ซึ่งสร้างไว้
เป็นสัดส่วนต่างหาก ในแคว้นอันธกะก็คำที่ท่านกล่าวไว้ว่า . บนพื้นนอกจาก
พื้นดิน ในอรรถกถาอันธกะนั้น ไม่มีในอรรถกถาทั้งหลายเลย ทั้งไม่สมด้วย
พระบาลี. ความจริงพื้นดินแม้สูงถึง 10 ศอก ก็ไม่ถึงการนับว่า เป็นเครื่อง
กั้นได้. เพราะฉะนั้น แม้คำใดที่ท่านกล่าวประมาณแห่งพื้นดินไว้ในสิกขาบท
ที่ 2 ในอันธกอรรถกถานั้น แล้วกล่าวว่า ฐาน กล่าวคือพื้นดินนั่น ชื่อว่า
กั้นด้วยอุปจารเดียวกัน ดังนี้, คำนั้น บัณฑิตไม่ควรถือเอา.
มหาปราสาทแม้เหล่าใด ที่มีทรวดทรงเป็นศาลาหลังเดียว 2 หลัง 3
หลัง และ 4 หลัง. ภิกษุล้างเท้าในโอกาสหนึ่งแล้ว เข้าไป อาจเดินเวียนรอบไป
ได้ในที่ทุกแห่ง. แม้ในมหาปราสาทเหล่านั้น ภิกษุย่อมไม่พ้นจากสหเสยยาบัติ
ถ้าว่ามหาปราสาทเป็นที่อันเขาสร้างกำหนดอุปจารไว้ในที่นั้น ๆ, เป็นอาบัติ
เฉพาะในที่มีอุปจารเดียวกันเท่านั้น .

พวกช่างทำกำแพงกั้นในท่ามกลาง แห่งมณฑปซึ่งมีหลังคาฉาบปูนขาว
ประกอบด้วยประตู 2 ช่อง อนุปสัมบันเข้าไปทางประตูหนึ่งนอนอยู่ในเขตหนึ่ง
และภิกษุนอนอยู่ในเขตหนึ่ง ไม่เป็นอาบัติ. ที่กำแพงมีช่อง แม้พอสัตว์ดิรัจฉาน
มีเหี้ยเป็นต้น เข้าไปได้. พวกเหี้ยนอนอยู่ในเขตหนึ่ง ไม่เป็นอาบัติเหมือนกัน
เพราะเรือนไม่ชื่อว่ามีอุปจารเดียวกับด้วยช่อง ถ้าว่า พวกช่างเจาะตรงกลาง
กำแพง แล้วประกอบประตูไว้ เป็นอาบัติ เพราะเป็นที่มีอุปจารเดียวกัน.
ภิกษุทั้งหลายปิดบานประตูนั้นแล้วนอน เป็นอาบัติเหมือนกัน. เพราะการปิด
ประตู เรือนจะชื่อว่ามีอุปจารต่างกัน หรือประตูจะชื่อว่าไม่ใช่ประตูหามิได้เลย.
เพราะบานประตูเขากระทำไว้เพื่อประโยชน์สำหรับใช้สอย ด้วยการปิดเปิดได้
ตามสบาย ไม่ใช่เพื่อต้องการจะตัดการใช้สอย. ก็ถ้าว่าภิกษุทั้งหลาย เอา
จำพวกอิฐปิดประตูนั้นซ้ำอีก ไม่จัดว่าเป็นประตู ย่อมตั้งอยู่ในภาวะที่มีอุปจาร
ต่าง ๆ กัน ตามเดิมนั่นแล.
เรือนเจดีย์มีหน้ามุขยาว บานประตูบานหนึ่งอยู่ด้านใน. บานหนึ่ง
อยู่ด้านนอก อนุปสัมบันนอนในระหว่างประตูทั้ง 3 ย่อมทำให้เป็นอาบัติแก่
ภิกษุผู้นอนภายในเรือนเจดีย์ เพราะมีอุปจารเดียวกัน.
มีคำทักท้วงว่า ในคำว่า ทีฆมุขํ เป็นต้นนั้น อาจารย์ผู้ท้วงท่านใด
พึงมีความประสงค์ดังนี้ว่า ชื่อว่า ความเป็นที่มีอุปจารเดียวกัน และมีอุปจาร
ต่างกันนี้ พระผู้นี้พระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วใน อุทโทสิตสิกขาบท. แต่ใน
สิกขาบทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำเพียงเท่านี้ว่า ที่ชื่อว่า ที่นอน ได้แก่
ที่นอนอันเขามุงทั้งหมด บังทั้งหมด มุงโดยมาก บังโดยมาก ดังนี้เท่านั้น,
และห้องที่ปิดประตูแล้ว จัดว่าบังทั้งหมดเหมือนกัน เพราะเหตุนั้น ในเรือน
แห่งเจดีย์นั้น จึงเป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้นอนร่วมกับอนุปสัมบัน ผู้นอนภายใน
เท่านั้น, ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้นอนร่วมกับอนุปสัมบันผู้นอนภายนอก.

อาจารย์ผู้ท้วงนั้น อันสกวาทีพึงกล่าวค้านอย่างนี้ว่า ก็ในเรือนแห่ง
เจดีย์ที่ไม่ปิดประตู เหตุไร จึงเป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้นอนร่วนกับอนุปสัมบันผู้
นอนในภายนอกเล่า ?.
อาจารย์ผู้ท้วง จะพึงเฉลยว่า เพราะหน้ามุขกับท้องเป็นที่มุงทั่งหมด
สกวาที ถามว่า ก็เมื่อปิดห้องแล้ว หลังคารื้อออกได้หรือ ?.
อาจารย์ผู้โจทก์เฉลยว่า รื้อออกไม่ได้, เพราะหน้ามุขกับต้องบังทั้งหมด
จึงรื้อไม่ได้.
สกวาที ถามว่า ผนังกั้น (หน้ามุข) รื้อออกได้หรือ ?.
อาจารย์ผู้โจทก์จักกล่าวแน่นอนว่า รื้อออกไม่ได้ (เพราะ) อุปจาร
กั้นไว้ด้วยบานประตู. อาจารย์ผู้โจทก์จักดำเนินไปไกลแสนไกล โดยนัยอย่างนั้น
แล้วจักวกกลับมาหาความมีอุปจารเดียวกัน และอุปจารต่างกันนั่นแหละอีก.
อีกนัยหนึ่ง ถ้าหากว่า เนื้อความจะพึงเป็นอันเข้าใจได้ง่ายด้วยเหตุ
สักว่าพยัญชนะอย่างเดียวไซร้, ที่นอนมุงด้วยเครื่องมุง 5 ชนิด ชนิดใด
ชนิดหนึ่งเท่านั้น จึงจะจัดเป็นที่นอนได้ ตามพระบาลีที่ว่า มุงทั้งหมด ที่นอน
มุงด้วยเครื่องมุงอย่างอื่นไม่ใช่. และเมื่อเป็นอย่างนี้ ก็ไม่พึงเป็นอาบัติในที่นอน
ซึ่งมุงด้วยไม้กระดานเป็นต้น. เพราะไม่มีความเป็นอาบัตินั้น สิกขาบทที่พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้เพื่อประโยชน์อันใด, ประโยชน์อันนั้น นั่นแหละ
พึงเสียไป. จะเสียประโยชน์อันนั้นไปหรือหาไม่ก็ตามที; ทำไมจะไปถือเอาคำ
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัสไว้เล่า ? หรือว่าใครเล่ากล่าวว่า ควรเชื่อถือ
ถ้อยคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัสไว้. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำนี้
ไว้ในอนิยตสิกขาบททั้งสองว่า อาสนะ ที่ชื่อว่ากำบัง คือ เป็นอาสนะที่เขา

กำบังด้วยฝา บานประตู เสื่อลำแพน ม่านบัง ต้นไม้ เสา หรือฉาง อย่างใด
อย่างหนึ่ง* ดังนี้.
เพราะฉะนั้น ในอนิยตสิกขาบทนั้น ท่านถือเอาอาสนะที่เขากำบังด้วย
วัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง ฉันใด, ถึงในสิกขาบทนี้ บัณฑิตก็พึงถือเอาเสนาสนะ
นั้น ฉันนั้น. เพราะเหตุนั้น เสนาสนะใด ๆ จะเล็กหรือใหญ่ก็ตามที เกี่ยว
เนื่องหรือไม่เกี่ยวเนื่องด้วยวัตถุอื่น ยาวหรือกลม หรือ 4 เหลี่ยมจตุรัสก็ตาม
มีพื้นชั้นเดียว หรือมีพื้นมากชั้นก็ตาม ซึ่งมีอุปจารเดียวกัน เป็นสหเสยยาบัติ
ในเสนาสนะนั้น ๆ ทั้งหมด ซึ่งมุงทั้งหมด บังทั้งหมด หรือมุงโดยมาก ด้วย
เครื่องกำบังอย่างใดอย่างหนึ่งแล.
ในคำว่า มุ่งกึ่งหนึ่ง บังกึ่งหนึ่ง ต้องทุกกฏ นี้ ในมหาปัจจรีก็กล่าวว่า
เป็นทุกกฏเหมือนกัน แม้ในคำมีอาทิอย่างนี้ว่า มุงทั้งหมด บังกึ่งหนึ่ง. แต่ใน
มหาอรรถกถากล่าวว่า ในเสนาสนะที่มุงทั้งหมด บังโดยมาก เป็นปาจิตตีย์
ในเสนาสนะมุงทั้งหมด บังกึ่งหนึ่ง เป็นปาจิตตีย์ มุงโดยมาก บังกึ่งหนึ่ง
เป็นปาจิตตีย์ บังทั้งหมด มุงโดยมาก เป็นปาจิตตีย์ บังทั้งหมด มุงกึ่งหนึ่ง
เป็นปาจิตตีย์, บังโดยมาก มุงกึ่งหนึ่ง เป็นปาจิตตีย์ เป็นปาจิตตีย์ 7 ตัว
รวมกับปาจิตตีย์ที่ตรัสไว้ในบาลี. (ในมหาอรรถกถา) กล่าวว่า ในเสนาสนะ
มุงทั้งหมด บังเล็กน้อย เป็นทุกกฏ มุงโดยมาก บังเล็กน้อย เป็นทุกกฏ
บังทั้งหมด มุงเล็กน้อย เป็นทุกกฏ บังโดยมาก มุงเล็กน้อย เป็นทุกกฏ
เป็นทุกกฏ 5 ตัว รวมกับทุกกฏในบาลี. ในเสนาสนะที่มุงกึ่งหนึ่ง บังเล็กน้อย
เป็นอนาบัติ. บังกึ่งหนึ่ง มุงเล็กน้อย เป็นอนาบัติ มุงเล็กน้อย บังเล็กน้อย
เป็นอนาบัติ.
* วิ. มหา. 14/33.

ก็ในคำว่า ในสถานที่มุงทั้งหมด ไม่บังทั้งหมด นี้ ท่านกล่าวว่า
มีความประสงค์เอาเปนัมพมณฑปวรรณ. พื้นดินย่อมไม่ถึงอันนับว่าเป็นผนัง
กั้นได้ ฉันใด, แม้ด้วยคำว่า ในที่มุงทั้งหมด ไม่บังทั้งหมด นี้ บัณฑิตก็
พึงทราบคำว่า พื้นดิน ไม่ถึงอันนับว่าเป็นผนังกั้นได้นี้ ฉันนั้น. บทที่เหลือ
มีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจเอฬกโลมสิกขาบท เกิดขึ้นทางกาย 1 ทาง
กายกับจิต 1 เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม
มีจิต 3 มีเวทนา 3 ฉะนั้นแล.
สหเสยยสิกขาบทที่ 5 จบ

มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ 6


เรื่องพระอนุรุทธเถระ


[298] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่าน
พระอนุรุทธะเดินทางไปพระนครสาวัตถีในโกศลชนบท ได้ไปถึงหมู่บ้าน
แห่งหนึ่ง ณ เวลาเย็น ก็แลสมัยนั้น ในหมู่บ้านั้นมีสตรีผู้หนึ่ง จัดเรือนพัก
สำหรับอาคันตุกะไว้ จึงท่านพระอนุรุทธะเข้าไปหาสตรีนั้น แล้วได้กล่าวคำนี้
กะสตรีนั้นว่า ดูก่อนน้องหญิง ถ้าเธอไม่หนักใจ อาตมาขอพักแรมในเรือนพัก
สักคืนหนึ่ง.
สตรีนั้นเรียนว่า นิมนต์พักแรมเถิด เจ้าข้า.
พวกคนเดินทางแม้เหล่าอื่นก็เข้าไปหาสตรีนั้น แล้วได้กล่าวคำนี้กะ
สตรีนั้นว่า คุณนายขอรับ ถ้าคุณนายไม่หนักใจ พวกข้าพเจ้าขอพักแรมใน
เรือนพักสักคืนหนึ่ง.
นางกล่าวว่า พระคุณเจ้าสมณะนั่นเข้าไปพักแรมอยู่ก่อนแล้ว ถ้าท่าน
อนุญาต ก็เชิญพักแรมได้.
จึงคนเดินทางพวกนั้น พากัน เข้าไปหาท่านอนุรุทธะแล้ว ได้กล่าว
คำนี้กะท่านพระอนุรุทธะว่า ท่านขอรับ ถ้าท่านไม่หนักใจ พวกกระผมขอ
พักแรมคืน ในเรือนพักสักคืนหนึ่ง.
ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า เชิญพักเถิดจ้ะ.